Like Our Post? Please Share!

Wednesday, July 4, 2012

กระดูกพรุนในผู้สูงวัย พลาดนิดเดียวสะโพกหักไม่รู้ตัว

โรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกโปร่งบาง คือ ภาวะที่เนื้อกระดูกลดลงและมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลง มีโอกาสหักได้ง่ายขึ้น ซึ่งกรณีของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาจากแพทย์จะมีอาการเจ็บบริเวณสะโพก หลังหรือไหล่ เมื่อผลการตรวจวินิจฉัยออกมาจะพบว่ามีกระดูกหักซึ่งสาเหตุก็มาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุนั่นเอง

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

โดยทั่วไปกระดูกพรุนจะไม่มีอาการ และผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองกระดูกพรุนจนกว่าจะหกล้มแล้วเจ็บไม่หาย ญาติจึงพาไปพบแพทย์ และหลังจากส่งเอกซเรย์จะพบทั้งกระดูกหักกับร่องรอยของกระดูกพรุนที่มีอยู่ก่อนแล้ว นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมแค่ล้มนิดๆหน่อยๆ จึงทำให้กระดูกหัก


ทั้งนี้สำหรับผู้สูงอายุและญาติผู้ใกล้ชิดที่อาจสงสัยว่าเข้าข่ายภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ ก็สามารถเข้ารับการตรวจเพื่อหาภาวะกระดูกพรุนได้ก่อนที่จะมีอาการ โดยการใช้เครื่องมือตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งหากตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่า มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานคือ -2.5 ก็ถือว่ามีภาวะกระดูกพรุน จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยขั้นตอนการใช้ยา แต่หากในรายที่ถึงขั้นกระดูกหักแล้ว ทางศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเป็นลำดับต่อไป

วิธีการรักษานั้น ถ้ากระดูกหักบริเวณคอสะโพก แพทย์มักจะเปลี่ยนเป็นสะโพกเทียม แต่ถ้าถัดจากบริเวณคอลงมา แพทย์จะยึดตรึงกระดูกให้กับผู้ป่วย ซึ่งมีโอกาสสูงที่กระดูกจะติดเร็ว

การผ่าตัดกระดูกหักบริเวณนี้พัฒนาไปมาก และมีขนาดเล็กลง คนไข้จะเจ็บน้อย หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 วัน คนไข้สามารถที่จะนั่งได้ตามปกติ

สำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ทนเจ็บโดยไม่ยอมไปรับการรักษาอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนอย่างเช่น ภาวะปอดอักเสบ ปอดบวม มีแผลกดทับ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบอันเป็นผลจากการที่ไม่สามารถขยับตัวได้ และอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่พบว่าผู้สูงอายุหกล้ม แม้เพียงเล็กน้อย ญาติผู้ใกล้ชิดไม่ควรจะนิ่งนอนใจ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ เพื่อมิให้อาการบานปลายจากกรณีกระดูกหักโดยไม่รู้ตัว

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...