Like Our Post? Please Share!

Friday, July 13, 2012

ปวดหัว แบบไหนอันตราย

ปวดหัวเป็นอาการที่พบบ่อย และพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยอย่างน้อยในช่วงชีวิตของทุกคน ต้องเคยพบมีอาการปวดหัวกันมาแล้วทั้งทั้งนั้น  ส่วนใหญ่คนที่มีอาการปวดหัว มักไม่ได้เป็นโรคที่อันตราย บางครั้งแค่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ทุเลาหายได้เอง แต่ก็พบว่าอีกส่วนหนึ่งในจำนวนไม่น้อยที่มีโรคหลอดเลือดสมอง โรคเหล่านี้จะมีอาการปวดหัวอย่างไรมาฟังคำตอบจาก น.พ.สุกรีย์ สมานไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมประสาท ประจำศูนย์โรคปวดหัว รพ.สินแพทย์

Headache ปวดหัว


Q : อาการปวดหัวเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
A : ปวดหัว แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
  1. ปวดหัวที่อันตรายรุนแรง กลุ่มนี้จะพบมีรอยโรคอยู่ในสมองและศีรษะ เช่น มีเนื้องอกในสมอง หลอดเลือดสมองโป่งพอง มีเลือดออกในสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กลุ่มนี้เป็นโรคที่ต้องรีบให้การรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ 
  2. ปวดหัวที่ไม่อันตราย กลุ่มนี้มักไม่มีโรคในสมอง หรือที่เยื่อหุ้มสมองเลย เช่น ไมเกรน เครียด หรือมีภาวะเส้นประสาทบริเวณใบหน้าอักเสบ เป็นต้น

Q : จะทราบได้อย่างไรว่าปวดหัวที่เป็นอยู่ จัดอยู่ในกลุ่มไหน ?
A : ขอเน้นเฉพาะอาการปวดหัวที่น่าจะจัดเข้าอยู่ในกลุ่มที่ 1 หรือ กลุ่มที่น่าจะเป็นโรครุนแรง ซึ่งมักจะพบมีอาการปวดหัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  1. ปวดหัวแบบทันที และรุนแรงมาก
  2. ปวดหัวมากแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อนเลยในชีวิต
  3. ปวดหัวมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ โดยไม่มีช่วงที่หายดีเลย
  4. ปวดหัวแบบใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับที่เคยปวดมาก่อน
  5. ปวดหัวรุนแรง พร้อมกับมีอาการคอแข็ง หรืออาเจียนมาก
  6. ปวดหัว พร้อมกับมีอาการอ่อนแรง มองเห็นภาพซ้อน ตามัว ซึมลง สับสน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือหมดสติ
  7. ปวดหัวขณะที่ไอ จาม หรือเบ่งถ่ายอุจจาระ จะยิ่งทวีความปวดมากยิ่งขึ้น
  8. ปวดหัวครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี โดยไม่เคยมีโรคใดๆมาก่อน

Q : ถ้ามีอาการปวดหัวดังกล่าว ควรทำอย่างไร ?
A : ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจอาการ และหาสาเหตุ อาจต้องตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทราบผลการตรวจได้เร็ว โดยเฉพาะในกรณีที่เร่งด่วนและฉุกเฉิน หรือ ตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งสามารถตรวจหาโรคได้อย่างละเอียด ทั้งในส่วนของสมอง และหลอดเลือดสมอง หากตรวจพบโรคได้ไว ก็จะยิ่งทำให้การรักษาดีขึ้นมากขึ้นเท่านั้น

1 comment:

  1. This blog aware me about different programs which can become very useful for our friends and kids. Few websites provide combined courses and few of the are separately for single subject. Glad to get this information. โรคเครียดนอนไม่หลับ

    ReplyDelete

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...